มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : Ubon Ratchathani University
 นักศึกษา    บุคลากร    ศิษย์เก่า   UBU English       |      




คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ จัดโครงการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2566 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน


โพสต์โดย : ทิพย์วรรณ เวฬุวนาธร     วันที่ 9 มีนาคม 2566 , 16:56:05     (อ่าน 1,495 ครั้ง)  



คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ จัดโครงการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2566

“วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

-----------------------------------------

          คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดโครงการประชุมวิชาการ “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2566” หรือ Sci-Tech Symposium 2023 ภายใต้แนวคิด “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” Science and Technology for Achieving Sustainable Development Goalsเมื่อในวันพุธที่  8  มีนาคม  2566 ณ ห้องประชุม Sc 138และลานกิจกรรม อาคารวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร  จึงสุทธิวงษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ประธานเปิดและ รองศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ศรี  สุภาษร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในนามคณะกรรมการจัดโครงการประชุมวิชาการ กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์การจัดครั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาและนักเรียนโครงการ วมว. ได้เพิ่มพูนความรู้และทักษะทางวิชาการจากการฟังบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การเตรียมตัวเข้าสู่ตลาดงานของบัณฑิตจบใหม่ในยุคที่ต้องแข่งขันกับระบบอัจฉริยะ” โดย นายยงยุทธ  จงสุวัฒน์ CEO หจก.ยิ่งยง สมาร์ท บิส เจ้าของไอเดียตู้เก็บเงินอัจฉริยะ Tiger Cashbox เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและจากนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา รวมทั้งสร้างเสริมประสบการณ์ในการนำเสนอผลงานวิชาการทั้งแบบปากเปล่าและแบบโปสเตอร์ โดยตระหนักถึงความสำคัญของการเผยแพร่งานวิจัย เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณาจารย์ นักศึกษา และนักเรียน อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพบัณฑิต และการพัฒนาผลงานทางวิชาการและงานวิจัยในอนาคตต่อไป

               ศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร  จึงสุทธิวงษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า สำหรับโครงการประชุมวิชาการ “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2566” ครั้งนี้ เป็นส่วนสำคัญยิ่งในการพัฒนาด้านการเรียนการสอน เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี และนักเรียนโครงการ วมว. ได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรม เป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทางวิชาการ นักศึกษาและคณาจารย์ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวคิด และประสบการณ์ ซึ่งอาจนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางาน พัฒนาตนเองให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น การที่นักศึกษาและนักเรียนได้มีโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมจัดทำกิจกรรม จะเป็นการเพิ่มพูนทั้งความรู้และประสบการณ์ ในการนำเสนอผลงานทางวิชาการต่อที่ประชุม และสามารถนำความรู้และแนวคิดที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้และพัฒนางานวิจัยหรือโครงงานวิทยาศาสตร์ของตนให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ด้านการวิจัยระหว่างนักวิจัยและผู้สนใจทั่วไป ในการนำเสนอผลงานแบบ Oral presentation และแบบ Poster presentationจำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเคมี และเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ กลุ่มจุลชีววิทยา และชีววิทยา กลุ่มอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กลุ่มวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลุ่มสาขาคณิตศาสตร์วิชา และฟิสิกส์ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาและนักเรียนส่งผลงาน จำนวน 203 ผลงาน เป็นการนำเสนอผลงานแบบปากเปล่า 29 ผลงาน และเป็นการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ 169 ผลงาน และ Invited Speaker5 ผลงาน เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ และให้กำลังใจแก่นักศึกษาที่เข้าร่วมนำเสนอผลงาน คณะกรรมการจัดการประชุมได้พิจารณาให้รางวัลสำหรับผู้ที่มีความสามารถในการนำเสนอทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ รางวัลดีเด่น 10 รางวัล และรางวัลดี 35 รางวัล รวมมูลค่า 17,000 บาท ครอบคลุมทุกสาขาวิชา

----------------------------------

ทิพย์วรรณ  เวฬุวนาธร นักประชาสัมพันธ์ ชำนาญการ ม.อุบลฯ ภาพ/ข่าว




SDG Hashtag :

Tag อื่นๆ :