โพสต์โดย : เพลิน วิชัยวงศ์ วันที่ 14 มีนาคม 2567 , 17:03:40 (อ่าน 551 ครั้ง)
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยศูนย์ศึกษาอินเดีย และ สำนักวิทยบริการ ร่วมกับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี และ สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย และมูลนิธิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ๑๕๐ ปี ชาตกาล จังหวัดอุบลราชธานีร่วมจัดเสวนาเพื่อเป็นพุทธบูชาในโอกาสอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ ในหัวข้อ"จากมหานทีคงคาสู่ลุ่มน้ำโขง ประวัติพระบรมสารีริกธาตุ การเดินทางจากอดีตสู่ปัจจุบัน" โดยมี ดร.ปิยะมาศ ทัพมงคล รองผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาอินเดียแห่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และนายธนภัทร จิตสุทธิผล ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน รับเกียรติจาก Shri Gurmeet Singh Chawla อธิบดี กระทรวงวัฒนธรรม สาธารณรัฐอินเดีย เป็นประธานเปิดการเสวนา ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยณัฐ สร้อยคำ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คุณนลินทิพย์ น้อยวงศ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี และประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมงานจำนวนมาก ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 13มีนาคม 2567ที่ผ่านมา
ดร.ปิยะมาศ ทัพมงคล รองผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาอินเดียแห่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่าจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางแห่งการเชื่อมโยงลุ่มน้ำโขงตอนล่าง อีกทั้งหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พบเห็นได้ในพื้นที่ และแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี สะท้อนถึงความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมของอินเดียที่ปรากฏในลุ่มน้ำโขงศูนย์ศึกษาอินเดียแห่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเป็นศูนย์บริการวิชาการ วิจัย และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมด้านอินเดียศึกษาแห่งเดียวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้จัดการเสวนาทางวิชาการเพื่อเป็นพุทธบูชาในโอกาสอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ ในหัวข้อ "จากมหานทีคงคาสู่ลุ่มน้ำโขง ประวัติพระบรมสารีริกธาตุ การเดินทางจากอดีตสู่ปัจจุบัน" โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย Prof.Amarjiva Lochan, University of Delhi คุณเชาวนี เหล็กกล้า หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี คุณพงษ์พิศิษฏ์ กรมขันธ์ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 9อุบลราชธานี ดำเนินรายการและแปลโดย ดร.อัญชลี แสงทอง (มรภ.อบ.) และ ดร.สิวะกรณ์ กฤษณสุวรรณ (มอบ.) ศูนย์ศึกษาอินเดียแห่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
นอกจากนี้ ศูนย์ศึกษาอินเดียแห่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีร่วมกับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานียังจัดการแสดงนิทรรศการ “ตามรอยพระศาสดาและพุทธสถานในอินเดีย” The Buddhist Exhibition “Buddha Carika – in Footsteps of Buddha” เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมตลอดเดือนมีนาคม 2567อีกด้วย
ศูนย์ศึกษาอินเดียแห่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี/ ข่าว