มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : Ubon Ratchathani University
 นักศึกษา    บุคลากร    ศิษย์เก่า   UBU English       |      




ม.อุบลฯ จัดกิจกรรมแสดงความยินดี นักศึกษา/บุคลากรที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย


โพสต์โดย : ทิพย์วรรณ เวฬุวนาธร     วันที่ 3 ธันวาคม 2567 , 22:53:11     (อ่าน 1,466 ครั้ง)  



ม.อุบลฯ จัดกิจกรรมแสดงความยินดี

นักศึกษา/บุคลากรที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย

------------------------------------------

           มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดกิจกรรมแสดงความยินดีกับนักศึกษา/บุคลากรที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชุตินันท์  ประสิทธิ์ภูริปรีชา อธิการบดี เป็นประธานกล่าวต้อนรับแสดงความยินดี และมอบของที่ระลึกแทนคำขอบคุณนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจากคณะผู้บริหารและบุคลากรร่วมแสดงความยินดีชื่นชมในความสำเร็จของนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา ร่วมแสดงความยินดี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ พร้อมทั้งร่วมชื่นชมความสำเร็จที่นักศึกษาและอาจารย์เสียสละเวลา อดทน มุ่งมั่น ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจในการฝึกฝนจนประสบความสำเร็จ และได้รับรางวัลสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยจนเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน พร้อมทั้งบันทึกภาพเป็นที่ระลึก เมื่อวันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2567 ณ ห้องประชุมพิบูลมังสาหาร สำนักงานอธิการบดี

           สำหรับการจัดกิจกรรมแสดงความยินดีกับนักศึกษา/บุคลากรที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยครั้งนี้ มีนักศึกษา/บุคลากรที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย ดังนี้

คณะเกษตรศาสตร์

          ทีม ฅนตื่นโดรน สมาชิกในทีม ได้แก่ นายสาธร  ภูยาทิพย์ บริษัท นวัตกรรมเพื่อสังคมและเทคโนโลยีเกษตร จำกัดนายดลวัต  ทิพย์รักษ์ นักศึกษา นางสาวกมลรส  เจริญท้าว นางสาวชนะพร  กันยุตะ และนางสาวเอื้ออังกูร  ประพันธ์ศิลป์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาเกษตรวิศว์อัจฉริยะ คณะเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร รอบแรก ระดับภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2567 และเป็นตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศในวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 จัดโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมี รศ.ดร.ธนาทิพย์  แหลมคม ผศ.ดร.สุภาวดี  ชัยวิวัฒน์ตระกูล ดร.นิมมานรดี  พรมทอง อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ดร.ดี  จันทร์ศุภฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นวัตกรรมเพื่อสังคมและเทคโนโลยีเกษตร จำกัด นายมนตรี  ธนะสิงห์ กรรมการผู้จัดการ  และนางสาวรินทร์ณฐา  เลิศธาราทรัพย์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนานวัตกรรม บริษัทไลลา เอวิเอชั่น จำกัด เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ควบคุมทีม

          ทีม เกษตรวิศว์อัจฉริยะ ม.อุบลฯ สมาชิกในทีม ได้แก่ นายวิทวัส  วริวงค์ นายธนกร  โคตถา นายนครินทร์  ทองคำพิมพ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาเกษตรวิศว์อัจฉริยะ และนายอภิสิทธิ์  ทิพย์รี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาเกษตรวิศว์อัจฉริยะ คณะเกษตรศาสตร์ เป็นตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เพื่อเข้าร่วมแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 จัดโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมี รศ.ดร.ธนาทิพย์  แหลมคม ผศ.ดร.สุภาวดี  ชัยวิวัฒน์ตระกูล ดร.นิมมานรดี  พรมทอง อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ดร.ดี  จันทร์ศุภฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นวัตกรรมเพื่อสังคมและเทคโนโลยีเกษตร จำกัด นายมนตรี  ธนะสิงห์ กรรมการผู้จัดการ  และนางสาวรินทร์ณฐา  เลิศธาราทรัพย์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนานวัตกรรม บริษัทไลลา เอวิเอชั่น จำกัด เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ควบคุมทีม

          ทีม หวานเจี๊ยบ สมาชิกในทีม ได้แก่ นายมนตรี  ธนะสิงห์ นายภูมิพิพัฒน์  ยงเพชร นางสาวรินทร์ณฐา เลิศธาราทรัพย์ บริษัทไลลา เอวิเอชั่น จำกัด และนายนวพล  พรมทัด นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาเกษตรวิศว์อัจฉริยะ เป็นตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2567เพื่อเข้าร่วมแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 จัดโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลโดยมี รศ.ดร.ธนาทิพย์  แหลมคม ผศ.ดร.สุภาวดี  ชัยวิวัฒน์ตระกูล ดร.นิมมานรดี  พรมทอง อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ดร.ดี  จันทร์ศุภฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นวัตกรรมเพื่อสังคมและเทคโนโลยีเกษตร จำกัด นายมนตรี  ธนะสิงห์ กรรมการผู้จัดการ และนางสาวรินทร์ณฐา  เลิศธาราทรัพย์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนานวัตกรรม บริษัทไลลา เอวิเอชั่น จำกัด เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ควบคุมทีม

คณะวิทยาศาสตร์

          ทีม FRIENDSTER สมาชิกในทีม ได้แก่ นางสาวกนกวรรณ  สีหามาตย์ นางสาวกษิรา  ศรีกำปัง และนางสาวชญตา  จึงพัฒนา นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ผ่านการพิจารณาคัดเลือก 5 ทีมสุดท้าย รับเงินรางวัล 50,000 บาท ในโครงการสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ด้านยางพารา กิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยและประกวดข้อเสนอโครงการวิจัย ในหัวข้อ IoT Smart Natural Rubber Hackathon ประจำปีงบประมาณ 2567 ระหว่างวันที่ 14 – 15 กันยายน 2567 จัดโดย การยางแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาผลงานเข้าแข่งขันในวัน Demo Day เดือนมกราคม 2568 โดยมี ดร.ศันศนีย์ ศรีจันทร์ ดร.สมปอง เวฬุวนาธร อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และดร.ภัทร์ลดา สุธรรมวงศ์ อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

          ผศ.ดร.ปราณี  นุ้ยหนู ผศ.ดร.สราวุธ  ประเสริฐศรี รศ.ชัยวุฒิ  วัดจัง และนางสาววชิรปาณี  แซ่เฮ้ง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับอาจารย์/นักวิจัย โครงการประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา ประจำปี 2567 ผลงานระดับอุดศึกษาและบัณฑิตศึกษา (ด้านปลายน้ำ)"นวัตกรรมเม็ดโฟมยางธรรมชาติดูดซับเอทิลีนชะลอการสุกของกล้วยหอมทอง" จัดโดย การยางแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 ณ ห้องกันตัง การยางแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ

          นางสาวศลิษา ทองดี นางสาวอารยา  ประทุมอาจ นางสาวชญตา  จึงพัฒนา นางสาวกษิรา  ศรีกำปัง และนางสาวชวาลา  สุขเพิ่ม นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ได้รับรางวัลชมเชย ระดับอุดมศึกษาและบัณฑิตศึกษา โครงการประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา ประจำปี 2567 ผลงานระดับอุดศึกษาและบัณฑิตศึกษา (ด้านปลายน้ำ) "นวัตกรรม โฟมยาพาราผสมน้ำมันหอมระเหยสำหรับยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อสัตว์" จัดโดย การยางแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12กันยายน 2567 ณ ห้องกันตัง การยางแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ โดยมี ผศ.ดร.ปราณี  นุ้ยหนู และดร.ศันศนีย์  ศรีจันทร์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

           นายศรัณยู  ทุมทอง นางสาวธมลวรรณ  บุญเจือ นางสาวเกวลิน  พิมพ์โคตร นางสาวภัณฑิราภรณ์  ยอดกุล และนายธนพงษ์  จำปี นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ได้รับรางวัลชมเชย ระดับอุดมศึกษาและบัณฑิตศึกษา โครงการประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา ประจำปี 2567 ผลงานระดับอุดศึกษาและบัณฑิตศึกษา (ด้านปลายน้ำ) "นวัตกรรมอินดิเคเตอร์ กรด-เบส ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากยางธรรมชาติและเซลลูโลส" จัดโดย การยางแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 ณ ห้องกันตัง การยางแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ โดยมีผศ.ดร.เสาวลักษณ์  บุญยอด และ รศ.ชัยวุฒิ  วัดจัง อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

          นางสาวเสาวภา  สืบสอน นางสาวอัยลดา  บุษบก นายอภิเดช  ใจเลิศนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ที่ได้รับรางวัลชมเชย ระดับอุดมศึกษาและบัณฑิตศึกษา โครงการประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา ประจำปี 2567ผลงานระดับอุดศึกษาและบัณฑิตศึกษา (ด้านปลายน้ำ) "นวัตกรรมฟิล์มยางพาราสำหรับห่อผลไม้เพื่อป้องกันแมลงและสภาพอากาศ (Para Wrap)" จัดโดย การยางแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 ณ ห้องกันตัง การยางแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ โดยมี ดร.ศันศนีย์  ศรีจันทร์ และ รศ.ชัยวุฒิ  วัดจัง อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

          นางสาวทิพอาภา  เตชะคำภู นายภัทรเกียรติ  พละมาตย์ นายตนุภัทร  หวังสม และนายรัชชานนท์  สิงห์ไชย นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ได้รับรางวัลชมเชย การประกวดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง CSS Challenge ครั้งที่ 2 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งประกวดคือ "แชมพูสมุนไพรใบหมี่ (Baimee Herbal Shampoo)" เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 ณ คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จัดโดย สาขาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและสปา คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยมี ผศ.ดร.นิภาวรรณ  พองพรหม อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ เป็นที่ปรึกษา

คณะศิลปศาสตร์

          นายขวัญชัย  มะโนศรี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ ได้รางวัลชนะเลิศ งานเขียน “อยากบอกให้โลกรู้” จากผลงานเรื่อง “ปอบเซียงสี” จากการเข้าอบรมในโครงการ “เล่น เล่า เรื่อง” โครงการ Workshop Camp“เล่นเล่าเรื่อง”เวทีสำหรับคนรุ่นใหม่ได้สร้างคอนเทนต์ด้วยศาสตร์การละคร ประสบความสำเร็จ สามารถต่อยอดไปสู่ความเป็นมืออาชีพ และพัฒนาตัวเอง โดยมีผู้ผ่านโครงการฝึกอบรมจำนวน 24 คน คัดเลือกจาก 154 คน  จัดโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ สมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ การประกวดผลงานในโครงการ "เล่น เล่า เรื่อง" จัดโดย สมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ณ สถาบันวิชาการ NT academy อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โดยมี อาจารย์สัมพันธ์  สุวรรณเลิศ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาการแข่งขัน

           ทีมลูกแม่มูล สมาชิกในทีม ได้แก่ นายขวัญชัย  มะโนศรี นางสาวศิริกัญญา  สาหินกอง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 และนายกฤตนนท์  ศรีโภคา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ได้รับรางวัลชมเชย การประกวดแต่งคำประพันธ์ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จัดโดย สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กองทุนสถาพร พันธุ์มณี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567 โดยมีอาจารย์กมลวัฒน์  เล็กนาวา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาการแข่งขัน/การฝึกซ้อม

           ตามที่สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ร่วมกับกองทุนสถาพร พันธุ์มณี ได้จัดการประกวดแต่งคำประพันธ์ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยแข่งขันด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์(Google meet) ในวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2567 (ประเภทมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา) เพื่อตัดสินผู้ได้รับรางวัลการประกวดระดับภาค เพื่อเป็นตัวแทนเข้าประกวดกลอนสดชิงชนะเลิศ ระดับชาติต่อไป

           นับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจกับนักศึกษาและคณาจารย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่มีผลงานโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้กับคณะและมหาวิทยาลัยที่สอดคล้องการขับเคลื่อนแผนกลยุทธและอัตลักษณ์นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี “เก่งและทำเป็น สร้างสรรค์ สามัคคี สำนึกดีต่อสังคม”

ประมวลภาพกิจกรรมแสดงความยินดี

https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1oPB_0KNw4BPCTiYLeEiYDHT9Jr1sfwe0

--------------------------------------------

ทิพย์วรรณ  เวฬุวนาธร นักประชาสัมพันธ์ ชำนาญการ ม.อุบลฯ ภาพ/ข่าว




SDG Hashtag :

Tag อื่นๆ :