มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : Ubon Ratchathani University
 นักศึกษา    บุคลากร    ศิษย์เก่า   UBU English       |      




ม.อุบลฯ นำเสนอผลการวิจัยภายใต้กรอบวิจัย การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น และร่วมถอดบทเรียนการพัฒนาเชิงพื้นที่


โพสต์โดย : เพลิน วิชัยวงศ์     วันที่ 21 ธันวาคม 2567 , 22:57:55     (อ่าน 10 ครั้ง)  



          มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย ศาสตราจารย์ ดร. ทวนทอง จุฑาเกต รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยผู้แทนคณะวิจัย ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. วีรเวทย์ อุทโธ ดร. ดุสิต จักรศิลป์ อาจารย์ดุสิต ศรีสร้อย และดร.กฤตยา อุทโธ เข้าร่วมนำเสนอ (ร่าง) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์และถอดบทเรียนการพัฒนาเชิงพื้นที่ ณ โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20-21 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา

           ศาสตราจารย์ ดร. ทวนทอง จุฑาเกต รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้รับอนุมัติทุนการวิจัย เรื่อง การเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากและศักยภาพนการแข่งขันสำหรับชุมชนทุนทางวัฒนธรรม อำเภอเขมราฐ และ อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ภายใต้กรอบวิจัย การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น (แทร็คต่อยอด Advance Track) ประจำปีงบประมาณ 2566 จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โดยมีระยะเวลาการดำเนินงาน 18 เดือน (เมษายน 2566-กันยายน 2567) การดำเนินการวิจัยได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับชุมชนในพื้นที่ อำเภอเขมราฐ และ อำเภอนาตาล ในด้านต่างๆ เช่น ชุดข้อมูลวัฒนธรรมสำหรับการพัฒนาชุมชน การพัฒนาวิสาหกิจและผู้ประกอบการทุนวัฒนธรรม การสร้างพื้นที่วัฒนธรรมสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและเครือข่ายธุรกิจ และอุทยานวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนพันธกิจที่ 4 ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับภาคีภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

          ในการประชุมครั้งนี้ มีการถอดบทเรียนจากโครงการวิจัย ในประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

          1. กลไกการสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายทุนทางวัฒนธรรม

          2. กระบวนการพัฒนาข้อมูลทุนทางวัฒนธรรม (Readiness of Cultural Capital Information)

          3. กระบวนการพัฒนาชุมชนทนทางวัฒนธรรม (Community of Cultural Capital) ที่ประกอบด้วยผู้สืบทอดทางวัฒนธรรม ผู้ประกอบการวัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมและบริการทางวัฒนธรรม

          4. กลไกการพัฒนาพันธกิจที่ 4 ของมหาวิทยาลัย และกระบวนการสร้างสรรค์อุทยานวัฒนธรรม (Cultural & Creative Park)

          5. กลไกเพื่อส่งต่อการพัฒนาพื้นที่ด้วยทุนทางวัฒนธรรมให้ภาคีเครือข่าย

          6. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนางานวิจัยต่อชุดโครงการ




SDG Hashtag : #SDG1 #SDG4 #SDG11 #SDG17